การฝังรากฟันเทียม เป็นการรักษาทางทันตกรรม สำหรับผู้ที่มีปัญหาการสูญเสียฟันธรรมชาติไปและต้องการจะมีฟันที่มาทดแทนเหมือนฟันธรรมชาติ โดยไม่ต้องการใส่ฟันปลอม แต่การรักษาด้วยวิธีทำรากฟันเทียมนั้น อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เนื่องจากบางโรคอาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผลข้างเคียงของโรคนั้น ซึ่งโรคประจำตัวที่มีผลกับการรักษารากฟันเทียมได้แก่ โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคมะเร็งบริเวณศีรษะถึงคอ และโรคกระดูกพรุน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไหนที่ไม่ควรทำรากฟันเทียม
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่รุนแรงไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียมนั้น เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้ จะมีน้ำตาลในเลือดที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจะส่งผลให้บาดแผลหายช้า ซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้น จะต้องมีการผ่าตัด ซึ่งจะมีบาดแผลจะอยู่ภายในช่องปาก หากไม่ได้รับการดูแลอย่างดี จะเสี่ยงต่อการอักเสบและการติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่รุนแรงไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมีความเสี่ยงมากที่สุด
ทำไมผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและคอจึงไม่ควรทำรากฟันเทียม
ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งที่ต้องเข้ารับการฉายแสงโดยเฉพาะบริเวณศีรษะถึงคอ เป็นกลุ่มที่ไม่เหมาะสมที่จะเข้ารับการทำรากฟันเทียม เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่ต้องเข้ารับการฉายแสงบริเวณใบหน้า จะทำให้เกิดภาวะปวดแสบปวดร้อนของลิ้นและกระพุ้งแก้ม และที่สำคัญคือกระดูกบริเวณที่ได้รับรังสีจะเกิดภาวะเซลล์กระดูกน้อย ทำให้กระดูกตายได้ง่าย ไม่เหมาะที่จะทำรากฟันเทียมอย่างยิ่ง เพราะอาจจะส่งผลอันตรายแก่ผู้ป่วยได้
ทำไมผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจึงไม่ควรทำรากฟันเทียม
กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนไม่เหมาะที่จะเข้ารับการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียม เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่มีกระดูกไม่แข็งแรง กระดูกมีความเปราะบาง ซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้น จะต้องฝังรากฟันเทียมบนกระดูกขากรรไกร ซึ่งอาจจะทำให้กระดูกบริเวณนั้นเกิดอาการเปราะ แตกหัก และทำให้รากฟันเทียมหลุดออกมาได้ หากผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนเข้ารับการรักษาทำรากฟันเทียม ก็มีอัตราสูงที่จะทำให้การรักษาเกิดความล้มเหลวสูงได้
ดังนั้นก่อนเข้ารับการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียม ควรเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์และควรบอกข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและข้อมูลโรคประจำตัวอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยและผลการรักษาที่ประสบความสำเร็จ
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม มีอะไรบ้าง?
การทำรากฟันเทียม หรือรากเทียม คือการรักษาเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป โดยเป็นการทำรากฟันเทียมซึ่งทำจากวัสดุไทเทเนียม ซึ่งมีลักษณะรูปร่างคล้ายสกรู ลงไปในขากรรไกร เพื่อยึดสะพานฟัน ครอบฟัน หรือฟันปลอมถอดได้ทั้งปาก โดยจะใช้เวลารักษาทั้งหมดประมาณ 3-6 เดือน โดยระยะเวลาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณและคุณภาพของกระดูกขากรรไกร จำนวนฟันที่ต้องทำรากฟันเทียม เป็นต้น
การเตรียมตัวก่อนการทำรากฟันเทียม ?
เมื่อทันตแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าคนไข้จำเป็นต้องทำรากฟันเทียม ก็จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนการทำรากฟันเทียม ได้แก่
พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หากมีโรคประจำตัวและมียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำก็ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งหากเป็นโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมได้ก็สามารถทำรากฟันเทียมได้
การทำรากฟันเทียม มีขั้นตอนอะไรบ้าง?
ทันตแพทย์จะตรวจสภาพช่องปากและเตรียมสภาพช่องปากให้เรียบร้อย
ถ่ายภาพ X-Ray และ CT Scan และ พิมพ์ปากเพื่อวางแผนการรักษา
ทันตแพทย์ทำการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมในตำแหน่งที่เหมาะสม ในบางกรณีอาจมีการเสริมกระดูกก่อน
รอให้กระดูกยึดกับรากฟันเทียมซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณและคุณภาพกระดูกของคนไข้
เมื่อกระดูกยึดกับรากฟันเทียมดีแล้ว ทันตแพทย์จะพิมพ์ปากเพื่อทำสะพานฟัน ครอบฟัน หรือฟันปลอม
ทำการใส่เดือยฟันเพื่อรองรับสะพานฟัน ครอบฟัน หรือฟันปลอม
ทำการใส่ สะพานฟัน ครอบฟัน หรือฟันปลอม
นัดคนไข้เพื่อติดตามอาการ
การดูแลหลังทำรากฟันเทียม ?
แปรงฟันให้สะอาดและถูกต้อง
ใช้ไหมขัดฟันทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวของแข็ง
พบทันตแพทย์ตามกำหนดเวลา ทุก 6 เดือน
ข้อดีของการทำรากฟันเทียม ?
สร้างความมั่นใจทุกครั้งที่ยิ้ม หรือพูดคุย
เคี้ยวอาหารได้เหมือนการใช้ฟันธรรมชาติ
ทำความสะอาดง่าย แค่ใช้การแปรงฟัน
สุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น
อายุการใช้งานยาวนานขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของคนไข้
รากฟันเทียมทั้งปาก ราคา: มีโรคประจำตัวสามารถทำรากฟันเทียมได้หรือไม่? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://bit.ly/3P3AQ21