รับทำSEOราคาถูก, โปรโมทเว็บ, รับจ้างโฆษณาสินค้า

อุปกรณ์ออกบูธ, บูธสำเร็จรูป

รับทำseoราคาถูก, รับดันอันดับเว็บ, รับโปรโมทเว็บราคาถูก รับติดแบนเนอร์ รับติดแบนเนอร์ รับติดแบนเนอร์ รับติดแบนเนอร์ รับติดแบนเนอร์

รับติดแบนเนอร์ ตอกเสาเข็ม, ขายเสาเข็ม, ขายแผ่นพื้น, ปั้นจั่น, รับผลิตเสาเข็ม รับติดแบนเนอร์ ไนโตรเจนเหลว รับติดแบนเนอร์ รับติดแบนเนอร์

รับทาสีอาคาร รับติดป้ายแบนเนอร์ ป้ายโฆษณา รับติดแบนเนอร์ รับติดป้ายแบนเนอร์ ป้ายโฆษณา รับติดตั้งตาข่ายกันนก รับติดแบนเนอร์

รับทำseoราคาถูก, รับโปรโมทเว็บไซต์, รับดันอันดับเว็บไซต์, รับทำเว็บไซต์, ออกแบบเว็บไซต์ราคาถูก, รับประกันติดgoogle

ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันความร้อน ปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการประเมินระดับความร้อน ให้เหมาะสมกับลักษณะกา  (อ่าน 3 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2787
  • รับโปรโมทเว็บ รับโพสต์เว็บราคาถูก โปรโมทเว็บ www.posthitz.com
    • ดูรายละเอียด

Permalink: ฉนวนกันความร้อน ปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการประเมินระดับความร้อน ให้เหมาะสมกับลักษณะกา
ฉนวนกันความร้อน ปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการประเมินระดับความร้อน ให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน

ในโรงงานอุตสาหกรรม ความร้อนกับการทำงาน เป็นสิ่งที่พนักงานหรือลูกจ้างต้องเผชิญและสัมผัสกับความร้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอันตรายจากความร้อนในการทำงานนั้น เมื่อร่างกายเราได้รับความร้อน จะมีการถ่ายเทความร้อนออกไปเพื่อรักษาสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย ซึ่งปกติอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ถ้าร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของระบบควบคุมความร้อนได้จะเกิดความผิดปกติและเจ็บป่วย ลักษณะอาการและความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เช่น มีภาวะขาดน้ำ อ่อนเพลีย เป็นลม และมีอาการเป็นตะคริว

 แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ…? เพื่อหาแนวทางป้องกันให้ลูกจ้างปฏิบัติงานกับความร้อนได้อย่างปลอดภัย ไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากความร้อน และไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิต วันนี้เรามีแนวทางป้องกันอันตรายจากความร้อน ด้วยการประเมินความระดับร้อนให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน จะเป็นอย่างไรนั้น เรามาดูไปพร้อมๆกันเลยค่ะ


การประเมินระดับความร้อนให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน

ตามกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2559

ความหนัก-เบาของงาน หมายความว่า การใช้พลังงานของร่างกายหรือใช้กําลังงานที่ทำใหเกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเพื่อใช้ปฏิบัติงาน การจําแนกความหนัก-เบาของลักษณะการทำงานออกเป็น 3 ระดับ (ตามกฎกระทรวงฯเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549) โดยคํานวณการใช้พลังงาน ดังนี้

“งานเบา” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงน้อยหรือใช้กําลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายไม่เกิน 200 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง

ตัวอย่างกิจกรรมและการปฏิบัติงาน ตามระดับของงานเบา

นั่งทำงานโดยมีการเคลื่อนไหวของแขน-ขาปานกลาง เช่น งานสำนักงาน งานเขียนหนังสือ งานพิมพ์ดีด งานบันทึกข้อมูล งานนั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์ งานประกอบชิ้นงานขนาดเล็ก ตรวจสอบ/ประกอบชิ้นส่วนวัสดุเบา เย็บปักถักร้อย

ยืนทำงานโดยมีการเคลื่อนไหวของลำตัวเล็กน้อย เช่น ควบคุมเครื่องจักร บรรจุวัสดุน้ำหนักเบา งานบังคับเครื่องจักรด้วยเท้า การใช้เครื่องมือกล/เครื่องทุ่นแรงขนาดเล็ก

เดินด้วยความเร็วไม่เกิน 2 ไมล์/ชั่วโมง (2 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เช่น เดินตรวจงาน หรือเดินส่งเอกสารจำนวนเล็กน้อย

“งานปานกลาง” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงปานกลางหรือใช้กําลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน 201 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง ถึง 350 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง

ตัวอย่างกิจกรรมและการปฏิบัติงาน ตามระดับของงานปานกลาง

นั่งทำงานโดยมีการเคลื่อนไหวหรือใช้กำลังแขน – ขาค่อนข้างมาก เช่น นั่ง ควบคุมปันจั่น เครน หรือเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ในงานก่อสร้าง ประกอบ/ บรรจุวัสดุที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ขับรถบรรทุกขนาดใหญ่

ยืน/เคลื่อนไหวลําตัวขณะทำงาน เช่น ยกของที่มีน้ำหนักปานกลาง ลาก-ดึง รถเข็นวัสดุที่มีล้อเลื่อน ทำงานในห้องเก็บของ ยืนตอกตะปูใช้เครื่องมือกลขนาดปานกลาง ยืนป้อนชิ้นงาน การขัดถูทำความสะอาด รีดผ้า

เดินด้วยความเร็ว 2-3 ไมล์/ชั่วโมง (2 – 4.8กิโลเมตร/ชั่วโมง ) หรือเดิน โดยมีการถือวัสดุที่น้ำหนักไม่มากเช่น เดินส่งเอกสารหรือห่อวัสดุสิ่งของ

“งานหนัก” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงมากหรือใช้กําลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน 350 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง

ตัวอย่างกิจกรรมและการปฏิบัติงาน ตามระดับของงานหนัก

ทำงานที่มีการเคลื่อนไหวลำตัวมาก/อย่างเร็ว หรือต้องมีการออกแรงมาก เช่น ลาก ดึง หรือยกของที่มีน้ำหนักมาก (> 20 kg) งานที่ใช้พลั่วตักหรือเครื่องมือลักษณะคล้ายกับงานขุด งานเลื่อยไม้ ขุดหรือเซาะดิน/ทราย งานเจาะไม้เนื้อแข็ง งานทุบโดยใช้ค้อนขนาดใหญ่ งานยก หรือเคลื่อนย้ายของหนัก ขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชัน งานคุ้ยตะกรันในเตาหลอม งานแกะสลักโลหะหรือหิน การขัดถูพื้นหรือพรมที่สกปรกมากๆ งานก่อสร้างและงานหนักที่ต้องปฏิบัติกลางแจ้ง

เดินเร็วๆ หรือวิ่งด้วยความเร็วมากกว่า 3 ไมล์/ชั่วโมง (8กิโลเมตร/ชั่วโมง )

ประเภทของอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อความร้อนในการทำงาน

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทำงานพ.ศ.2546 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการ ประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องทำการตรวจวัดความร้อนกำหนดไว้ ได้แก่

-โรงงานผลิตน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว หรือการทำให้บริสุทธิ์

-โรงงานสิ่งทอที่ทำการฟอก ย้อมสี หรือแต่งสำเร็จด้ายหรือสิ่งทอ

-โรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากไม้หรือวัสดุอื่น การทำกระดาษ กระดาษแข็ง

-โรงงานผลิต ซ่อม หล่อ หรือหล่อดอกยางนอก ยางใน

-โรงงานผลิตแก้ว เส้นใยแก้ว

-โรงงานทำซีเมนต์ปูนขาว ปูนปลาสเตอร์

-โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุง ผสมทำให้บริสุทธิ์หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะขั้นต้น

-กิจการที่มีแหล่งกำเนิดความร้อนหรือมีการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากความร้อน

บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด (NTi) ผู้เชี่ยวชาญด้านฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้สำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมให้คำแนะนำด้านการควบคุมความร้อนและรักษาระดับความร้อนในสถานประกอบกิจการ ให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใกล้แหล่งความร้อนมีความปลอดภัย ด้วยฉนวนกันความร้อน ZAVE® ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมความร้อนที่แหล่งกำเนิด เช่น การใช้ฉนวนหุ้มฮีทเตอร์ เตาอบ ท่อน้ำร้อน หม้อไอน้ำ ท่อนําอากาศของระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ช่วยลดการแผ่รังสีความร้อน และช่วยให้ปลอดภัยต่อตัวผู้ปฏิบัติงานด้วยค่ะ



โปรโมทเว็บ โฆษณาสินค้าออนไลน์ ประกาศขายสินค้าฟรี รับจ้างโพสเว็บ รับทำSEOราคาถูก