เดิมทีเป็นการพูดถึงคนที่ต้องอยู่โดดเดี่ยวในพื้นที่ห่างไกล หรืออาศัยอยู่ในกระท่อมในแถบอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ที่จำเป็นต้องอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลาหลายๆ วัน
Vaile Wright นักจิตวิทยาและผู้อำนวยการศูนย์วิจัย American Psychological Association กล่าวว่า “Cabin Fever” หรือสภาพกดดันทางจิตใจที่ต้องอยู่แต่ในบ้านนี้ ไม่ใช่อาการทางจิต กล่าวคือ อาการนี้อาจไม่ได้มีอยู่จริง แต่เป็นเพียงความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ทางด้านลบและความทุกข์ใจที่เกิดจากการถูกจำกัดพื้นที่ ตลอดจนความหงุดหงิดใจ เบื่อหน่าย สิ้นหวัง และแม้กระทั่งมีพฤติกรรมที่ผิดแปลก กระสับกระส่าย และไม่มีสมาธิ
นักจิตวิทยาบอกว่า บุคลิกภาพและอารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญว่าจะพัฒนาอารมณ์เหล่านี้ได้รวดเร็วแค่ไหน หากธรรมชาติของคุณเป็นคนที่ชอบสิ่งแวดล้อมภายนอก และไม่คุ้นเคยกับการอยู่บ้าน ก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกแบบนี้ได้
Paul Rosenblatt นักจิตวิทยาและศาสตราจารย์กิตติคุณสาขาวิชาสังคมศาสตร์ครอบครัวที่มหาวิทยาลัย Minnesota ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “Cabin Fever” มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 กล่าวว่า คนบางคนก็เกิดอาการเหล่านี้ได้ทันที กล่าวคือ เมื่อพวกเขานึกถึงว่าจะต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานๆ ก็เกิดอาการวิตกกังวลแล้ว
ส่วนบรรดาคนที่มองเห็นว่าการกักกันตัวเองนั้น ทำให้มีเวลาได้ทำความสะอาดบ้าน จัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ จัดระเบียบตู้เสื้อผ้า หรือหางานอดิเรกใหม่ๆ ทำ ก็อาจเกิดอาการ “Cabin Fever” ช้ากว่าคนอื่น
รู้จัก “Cabin Fever-อาการเบื่อบ้าน” คืออะไร? รักษาได้หรือไม่? ดูเพิ่มเติมที่นี่ http://สุขภาพ.cc/